31.เรื่องทวิภพ โดย นางสาว สุพัตรา ช้างทอง
การวิพากษ์วรรณกรรม ประกอบรายวิชา 001222 ภาษา สังคม และวัฒนธรรม
โดย นางสาว สุพัตรา ช้างทอง
รหัสประจำตัว 59472907
คณะ สาธารณสุขศาสตร์
ชื่อวรรณกรรม ทวิภพ
แต่งโดย วิมล ศิริไพบูลย์ ใช้นามปากกา “ทมยันตี”
แปลโดย (ถ้ามี) -
พิมพ์ครั้งที่ 1
สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม
ปีที่พิมพ์ ธันวาคม 2551
จำนวนหน้า 678
เนื้อหาโดยย่อ
มณีจันทร์ หรือ เมณี่ นางเอกของเรื่องเป็นบุตรของ เอกอัครราชทูตไทย ที่บิดามารดาต้องไปอยู่ – ต่างประเทศ ตัวเมณี่เองได้ซื้อกระจกบานหนึ่งมาและต่อมาก็พบว่ากระจกบานนั้น สามารถพาเธอย้อนกลับอดีตไปในยุคของรัชกาลที่ ๕ ได้ และได้โผล่ที่เรือนของ "คุณหลวงอัครเทพวรากร" ข้าหลวงประจำกรมเจ้าท่า ทำให้บ่อยครั้งที่ตัวเมณี่หายไปจากบ้านอย่างไร้ร่องรอย เป็นเหตุให้เพื่อนสนิทคือ กุลวรางค์ , ตรอง , ไรวัติ (หนุ่มที่มาจีบเมณี่) ต้องเดือดร้อนตามหาตัวมณีจันทร์
การปรากฏตัวของมณีจันทร์จะมีนาฬิกาเป็นเสียงเรียกเธอให้กลับไปที่กระจกเธอจึงสามารถข้ามภพไปได้ และการข้ามภพของเธอนั้นสร้างความประหลาดใจให้กับทุกคนในบ้านคุณหลวงเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความฉลาดเฉลียว สดใสร่าเริงของมณีจันทร์ ทำให้ผู้พบเห็นอดที่จะรักเธอไม่ได้ ในขณะเดียวกัน มณีจันทร์ก็พยายามทำความรู้จักและคุ้นเคยกับคุณหลวงอัครเทพวรากรและคุณหญิงแสร์ มารดาของคุณหลวง และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในสมัยนั้น ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร เธอก็ยิ่งรูสึกรักและผูกพันกับ คุณหลวงและคนในบ้านคุณหลวงมากขึ้นเรื่อยๆ นอกเหนือจากที่มณีจันทร์จะข้ามภพมาพบเจอกับคุณหลวงเทพ ชายผู้เป็น คู่แท้ในอดีตแล้ว เธอยังมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ของประเทศสยามซึ่งกำลังอยู่ในช่วงคับขันและต้องกำลังความสามารถของเธอเป็นอย่างมาก ซึ่งในปี ร.ศ. ๑๑๒ ประเทศ "ฝรั่งเศส" และประเทศ "อังกฤษ" ซึ่งอยู่ในยุคลาอาณานิคม ต้องการจะใช้ประเทศสยามเป็นดินแดนกันชน และจะแบ่งแยกประเทศสยามออก โดยเอาแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแนวแบ่งเขตแดน
มณีจันทร์ต้องใช้ภูมิความรู้ทางด้านภาษามาช่วยคุณหลวงอัครเทพวรากรและท่านเจ้าคุณวิศาลคดี แก้ไขสถานการณ์ของประเทศขณะนั้นจนสำเร็จ ในขณะเดียวกันมณีจันทร์เองก็มีอีกปัญหาหนึ่งที่รอคอยให้เธอตัดสินใจ กระจกซึ่งเป็นประตูเชื่อมกลางของทั้งสองภพ มีรอยร้าวเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เธอผ่านเข้าออก ซึ่งจะต้องแตกลงในวันใดวันหนึ่ง นั่นหมายถึงว่าเธอจะไม่สามารถเดินทางข้ามผ่านเวลาได้อีกต่อไป และท่านเจ้าคุณ -วิศาลคดีได้รับมณีจันทร์เป็นบุตรบุญธรรม และมณีจันทร์ตัดสินใจแต่งงานกับคุณหลวงผู้ชายที่รักเธออย่างสุดหัวใจ ในวันแต่งงานของมณีจันทร์ กระจกไดนำพามณีจันทร์และคุณหลวงข้ามมายังภพปัจจุบัน มณีจันทร์กราบลามารดาที่เฝ้ารอเธออยู่หน้ากระจก คุณหลวงได้ให้สัญญากับมารดาของมณีจันทร์ว่าจะรักและดูแลมณีจันทร์ซึ่งเป็นมณีดวงเดียวในชีวิตของเขา และเขาสองก็กลับไปยังภพอดีต กระจกบานยาวแตกลงมา และเส้นทางแห่งทวิภพถูกปิดตาย
คุณค่าของวรรณกรรมที่ได้อ่าน
๑.ด้านคุณธรรม
ในตอนหนึ่งของ ทวิภพ ตอนที่ฝรั่งเศสคุกคามจะเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นของไทย ปัญหานี้คุณหลวงอัครเทพวรากร ต้องร่วมแก้ด้วย มณีจันทร์จึงใฝ่ที่จะหาทางช่วยประเทศให้พ้นจากการล่าอาณานิคม มณีจันทร์ใช้ความรู้ทั้งหมดที่มีช่วยงานคุณหลวงเทพ ในงานบ้านเมืองเท่าที่เธอจะช่วยได้ และเธอก็ได้แสดงความฉลาดให้ปรากฏในด้านการใช้ภาษาฝรั่งเศส ในตอนนี้ทำให้สามารถเห็นได้ถึงสำนึกในบุญคุณแผ่นดินของคนไทยในสมัยก่อนว่าทุกคนพร้อมที่จะร่วมกันในการปกป้องประเทศให้พ้นจากการล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจในขณะนั้น
นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมีเมตตาของเจ้านายที่มีต่อบ่าวไพร่ จากการที่มณีจันทร์ไม่เคยแบ่งชั้นวรรณะ ไม่พูดดูถูกเหยียดหยามบ่าวไพร่ จนมณีจันทร์กลายเป็นบุคคลอันเป็นที่รัก สามารถผูกใจ คุณหญิงแสร์และบ่าวไพร่ทั้งบ้านไว้ได้
๒.ด้านความรู้
วรรณกรรมเรื่อง ทวิภพ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า - เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เป็นอย่างดี ไมว่าจะเป็นเรื่องการเมืองการปกครอง การแก้ปัญหาอันแสนฉลาดในยามสงคราม
ผู้เขียนสอดแทรกเรื่องราวในประวัติศาสตรไทยช่วงหนึ่งไว้ แสดงถึงความสามารถในการหาข้อมูล เชิงลึกของผู้เขียน เพราะการเขียนแนวนี้ประวัติศาสตร์ต้องคงเดิม เพียงแต่เพิ่มตัวละครดำเนินเรื่องตามจินตนาการของผู้เขียนและตามโครงเรื่องที่วางไวซึ่งต้องแนบเนียนมาก แสดงให้เห็นถึงความสามารถใน การประพันธ์ที่ผู้เขียนไดนำเอาเหตุการณ์ช่วงหนึ่งของสยามเรามาเขียน โดยใช้ศิลปะการเขียน ทำให้ประวัติศาสตร์ที่ดูน่าเบื่อกลับกลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ทำให้คนไทยที่ได้อ่าน ได้ชมละครโทรทัศน์ ก็ย่อมบังเกิดความรักชาติยิ่งขึ้น ผู้อ่านไดเห็นถึงความลำบากของบ้านเมืองในช่วงที่คนไทยเสียเปรียบคนต่างชาติ ประเทศมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสและอังกฤษ อีกอย่างก็ได้ทราบถึงความฉลาดในการแก้ปัญหาบ้านเมืองของบรรพบุรุษไทยที่เลือกแก้ไขปรับตัวเข้ากับสถานการณ์มากกว่าที่จะดึงดันแตกหักจนอาจเป็นเมืองขึ้นเหมือนหลายประเทศ และเห็นถึงความใฝ่รู้ใฝ่เรียนในภาษาต่างชาติของคนไทยสมัยก่อนอีกด้วย
๓.ด้านอารมณ์
ในบางตอนของ ทวิภพ ผู้เขียนได้ใช้ศิลปะการเขียนดำเนินเรื่องราว โดยแทรกบทกลอนสั้นๆ ที่อ่อนช้อยละเมียดละไมเป็นช่วงเป็นตอน ช่วยเพิ่มสุนทรียภาพและอรรถรสในการอ่านมากขึ้น สัมผัสถึงความงดงามทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้อย่างลงตัว ซึ่งเป็นตอนที่คุณหลวงเทพเล่นไวโอลินหน้าหอนอนให้มณีจันทร์เป็นเพลงที่ซื่อถึงความรักของท่านที่มีต่อมณีจันทร์จนหมดหัวใจ
๔.ด้านสังคม
วรรณกรรมเรื่องทวิภพ เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนสังคมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสังคมไทยในสมัยก่อนและปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ดังที่ปรากฏไวในเนื้อเรื่องดังนี้
- การแต่งกายในสมัย ร.ศ. ๑๑๒
เช่น ในวันอาทิตย์ ชาวบ้านมักนุ่งผ้าสีลิ้นจี่ สีเขียว หรือสีปูน และห่มผ้าสีโศก
ในวันจันทร์ ชาวบ้านมักนุ่งผ้าสีเหลือง และห่มผ้าสีน้ำเงิน หรือ นุ่งผ้าสีนกพิราบ และห่มผ้าสีจำปา
ในวันอังคาร ชาวบ้านมักนุ่งผ้าม่วง และห่มผ้าสีโศก เป็นต้น
- คุณสมบัติของกุลสตรี
เช่น เรื่องของเสน่ห์ปลายจวัก การปฏิบัติตนเป็นแม่ศรีเรือนของหญิงไทย และกริยาท่าทางที่อ่อนหวาน เหมาะสมต่อกาลเทศะ
- การวางตัวระหว่างชายและหญิงในขณะนั้น
เช่น ผู้ชายจะไม่เข้าไปในห้องนอนของผู้หญิง และไม่อยู่ด้วยกันตามลำพังกันสองต่อสองในยามวิกาล หากมี การนัดดูตัวหรือหมั้นหมายจะต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย
๕.ด้านวรรณศิลป์
ทวิภพ นวนิยายของทมยันตีมีพลังทางวรรณศิลป์อย่างสูง สามารถโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้เพลิดเพลินไปกับเนื้อเรื่อง ในส่วนที่เป็นร้อยแก้วผู้เขียนได้นำเสนอกลวิธีในการเขียนให้มีความน่าสนใจ กล่าวคือ ใช้ความรู้ในเรื่องภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นนวนิยายที่พรรณนาความได้อย่างยอดเยี่ยม มีการใช้ภาษาอันประกอบด้วยโวหารที่มีความครบครันทั้งเรื่อง นอกจากนี้ยังมีการสอดแทรกสำนวนบอกเวลาและสำนวนไทยไว้อีกด้วย
บริบททางสังคมและวัฒนธรรมจากการอ่าน
ทวิภพสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยในสมัยก่อนนั้นมีความรักชาติ หวงแหนแผ่นดินเกิด มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง อย่างที่มณีจันทร์มีความต้องการแก้ไขอดีตของประเทศอย่างแรงกล้า เพราะไม่ต้องการให้ประเทศไทยเสียดินแดนให้กับชาวต่างชาติด้วยเหตุที่ความรู้ทางด้านภาษาไม่เพียงพอ เมื่อมณีจันทร์มีโอกาสได้กลับไปยังอดีต เธอก็ใช้ความรู้ความสามารถของเธอเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติอย่างเต็มที่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนไทยในยุคปัจจุบัน ให้ปฏิบัติตามด้วยความมีสำนึกรักแผ่นดิน เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งชีพ ไม่จำเป็นว่าสิ่งที่ทำเพื่อประเทศชาติจะต้องเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หากแต่การปฏิบัติตนตามกฎหมาย รู้จักหน้าที่ของตนและปฏิบัติหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด มีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่การงาน ก็เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาไปสูความเจริญรุ่งเรืองได้
สำหรับการแก้ปัญหาสงครามด้วยวิธีทางการทูตก็สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์เช่นกัน การใช้ปัญญา ใช้วาทศิลป์ในการแก้ไขปัญหา ย่อมดีกว่าการใช้กำลังสู้รบ ทำให้ไม่เกิดความสูญเสีย ไม่มีฝ่ายใดต้องเจ็บปวดอีกและสามารถสะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ไทยที่น่าภูมิใจในการธำรงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เรื่องของกิริยามารยาท ความเป็นกุลสตรีไทย อาหาร การแต่งกาย ชีวิตประจำวันของคนไทยในสมัย ร.๕ เป็นต้น เป็นเกร็ดความรู้รอบตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ในปัจจุบัน ถ่ายทอดความเป็นไทย เอกลักษณ์ของไทย เพราะครูคือแม่พิมพ์คือแบบอย่างที่ดีของเยาวชน ครูจึงควรมีความรู้ในด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
ในเรื่องที่กล่าวถึงการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต การถูกรุกรานจากประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษสาเหตุที่ประเทศสยามเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เกิดจากบุคคลากรในประเทศที่มีความรู้ในภาษาต่างประเทศไม่เพียงพอ จึงสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและจำเป็นในการเรียนรูและศึกษาภาษาต่างประเทศอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้เท่าทัน เพื่อการติดต่อสื่อสาร การทำการค้าต่างๆ สอดคล้องกับในปัจจุบันที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน หากคนไทยในปัจจุบันไม่รู้ในภาษาต่างประเทศก็จะเกิดการเสียเปรียบในทุกด้าน ซึ่งคนไทยควรตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศ แต่ก็อย่าลืมความเป็นไทยซึ่งเราควรอนุรักษ์และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น